วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การติดตั้ง Wireless Access Point แบบง่ายๆ

การติดตั้ง Wireless Access Point ของ D-Link DWL-2000AP+ แบบง่ายๆ
การ setup อย่างง่ายๆ เพื่อทดลองการเชื่อมต่อ ระหว่างอุปกรณ์ชิ้นต่างๆ นั้น ผมแนะนำให้ลองใช้ Setup Wizard เลยครับ ง่ายดี โดยเฉพาะการ Setup ของ D-Link DWL-2000AP+ ที่ผมนำมาเป็นตัวอย่างในครั้งนี้ ไม่ต้องลง software อะไรเลยค่ะ
หลังจากที่ผมแกะกล่องออกมาแล้ว ผมก็จัดการเสียบสาย Power เข้ากับตัว Wireless Access Point ทันที พร้อมทั้งเสียบสาย LAN เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง Wireless Access Point กับเครื่องคอมพิวเตอร์ค่ะ

การติดตั้ง Hardware เรียบร้อบแล้วครับ ต่อไปก็จะเป็นการตั้งค่าตัว Wireless Access Point กันบ้าง ขั้นแรกเลยก็ให้เปิด Web Browser ขึ้นมา ในที่นีดิฉันขอใช้ Microsoft Internet Explorer นะค่ะ จากนั้นก็พิมพ์ 192.168.0.50 ไปที่ช่อง Address ตามรูปแล้วก็กด Enter ค่ะ หลังจากนั้นก็จะมี Windows เล็กๆโผล่ขึ้นมา ถาม Username และ password ค่ะ สำหรับ Wireless Access Point ของ D-Link ที่เพิ่งแกะกล่องออกมา จะตั้งค่า Username เป็น admin แต่ไม่มี password ค่ะ ทีนี้เราก็ป้อน admin ไปในช่อง Username แล้วก็คลิ๊กปุ่ม OK ได้เลยค่ะ

หน้าจอหลักค่ะ ตอนนี้เราจะเริ่ม Setup กันเลยนะค่ะ ขั้นแรกให้ลองคลิ๊กที่ Setup Wizard ดู

หน้าจอ Setup Wizard จะบอกเราว่า อย่างน้อยเราควรที่ผ่าน 4 ขั้นตอนในการ Setup คือ เปลี่ยน Password, การตั้งชื่อ SSID และ Channel, ตั้งการเข้ารหัสข้อมูล หลังจากนั้นก็ restart ค่ะ

ขั้นแรก ที่จะต้องทำคือ เปลี่ยน Password ซะก่อนนะค่ะ โดยพยายามเลือก Password ที่ไม่ง่ายในการเดาเกินไปนัก ใช้คำที่ไม่มีใน Dictionary ยิ่งปลอดภัยค่ะ
หลังจากนั้นก็คือการเปลี่ยนชื่อ SSID ซึ่งก็คือระบบ Network ไร้สาย หรือเรียกย่อๆว่า WLAN (Wireless Local Area Network) การตั้งชื่อ SSID นี้ เราสามารถตั้งเป็นอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 32 ตัวอักษรค่ะ
ต่อไปก็คือการเลือก Channel อะไรคือแชนแนล? Channel นั้น คิดง่ายๆก็เหมือนคลื่นความถี่วิทยุนี่เอง พอผมคลิ๊กลงไปที่ Drop Down Menu ก็จะเห็นว่ามีถึง 13 Channel ให้เลือกครับ ค่าที่ตั้งมาจากโรงงานก็คือ 6 ครับ เราสามารถเปลี่ยนเป็น Channel อะไรก็ได้ในภายหลัง เมื่อมีสัญญาณรบกวนจาก Wireless Network ข้างเคียงที่บังเอิญมาใช้ Channel เดียวกับเราค่ะ
ต่อไปก็คือการ set ค่า WEP WEP ย่อมาจาก Wired Equivalent Privacy แปลเป็นไทยได้ว่า ความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัวเสมือนระบบที่ใช้สาย นั่นเอง ในขั้นต้นนี้ดิฉันขอข้ามไปก่อนก็แล้วกันนะค่ะ โดยผมจะปล่อยให้เป็นค่า Default ที่ตั้งมาจากโรงงาน คือ Disabled แล้วเดี๋ยวค่อยไปพูดถึงตอน Advance Setting ก็แล้วกันนะค่ะ ตอนนี้กำลังเห่อ อยากลองใช้ Wireless LAN แล้วค่ะ
หลังจากคลิ๊ก Apply แล้ว ก็จะมีหน้าจอขึ้นมาบอกว่า กำลัง restart Wireless Access Point อยู่
ให้คลิ๊ก Continue จากนั้นก็ให้ปิด Web Browser ได้เลยค่ะ
ต่อมาก็คือการ setup ตัวเครื่องลูกข่ายกันบ้าง ผมจะลองใช้เครื่อง Notebook ของ Compaq Presario X1012AP เป็นตัวทดลองแล้วกันนะค่ะ เพราะรุ่นนี้มี 802.11b Wireless LAN ติดตั้งมาพร้อมเลย สะดวกดีครับ ไม่ต้องหาซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วงมาให้หนักกระเป๋าสตางค์
ทางมุมขวาล่างของหน้าจอจะเห็นรูปจอซ้อนกันสองจอ ซึ่งเป็น icon ของ Wireless LAN อันนึง และของ LAN แบบมีสายอีกอันนึงค่ะ
วิธีการก็ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่เปิดสวิทซ์ Wireless LAN ที่ตัว Notebook เท่านั้นค่ะ อย่างในรูปจะเห็นไฟสีฟ้าทางด้านหน้าของเครื่อง แสดงว่า Wireless LAN ได้ถูกเปิดแล้วครับ คราวนี้จะเห็นว่า Notebook ได้เจอระบบ Wireless LAN ของเราแล้ว แต่ก็จะเตือนว่าระบบของเราไม่ปลอดภัย พร้อมทั้งถามว่า แน่ใจเหรอที่จะ connect ตอนนี้ดิฉันก็อยากจะลองค่ะ ก็เลยติ๊กเครื่องหมายถูกดังรูปค่ะ
เสร็จแล้วค่ะ ง่ายไหมค่ะ จะเห็นที่ icon ได้เปลี่ยนไป พร้อมทั้งแจ้งว่าการเชื่อมต่อสมบูรณ์แล้วค่ะ
จบแล้วคาะ การ setup แบบที่ง่ายที่สุด แต่ก็ไม่ปลอดภัยที่สุดด้วย ยกเว้นแต่ว่าถ้าบ้านคุณตั้งอยู่ในสวนลึกๆ ที่ห่างไกลจากผู้คน การ setup แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
ถ้าไม่อย่างนั้นละก็ เราควรที่จะ setup Wireless Access Point ให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้นนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น